ชื่อหน่วยงาน โรงเรียนสุมณฑาศึกษา
สถานที่ตั้ง 765 ถนนสุมณฑา หมู่ที่ 2
ตำบลท่ายาง อำเภอทุ่งใหญ่
จังหวัดนครศรีธรรมราช
.....................................................................................................
ชื่อเรื่อง การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศเพื่อการบริหารงานในโรงเรียนสุมณฑา ศึกษา
โรงเรียนเป็นสถานที่ที่ให้บริการการศึกษานักเรียน การดำเนินงานใดๆ โรงเรียน จำเป็นต้องมีกลุ่มบุคคลมาบริหารงาน เพื่อให้การจัดการเป็นไปตามวัตถุประสงค์
การจัดการ หมายถึง กระบวนการกิจกรรมหรือการศึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในอันที่จะเชื่อมั่นได้ว่า กิจกรรมต่างๆ ดำเนินไปในแนวทางที่จะบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าที่ในอันที่จะสร้างและรักษาไว้ซึ่งสภาวะที่จะเอื้ออำนวยต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ด้วยความพยายามของกุล่มบุคคล (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2540 : 110)
สารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียน หมายถึง กลุ่มข้อมูลหรือสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับภาระงานของโรงเรียนทั้ง 4 งาน ได้แก่ งานวิชาการ การบริหารบุคคล งานบริหารการเงิน และงานบริหารทั่วไปสารสนเทศจะมีบทบาทสำคัญต่อผู้บริหารโรงเรียนในการจัดการโรงเรียน ให้มีประสิทธิภาพทั้ง 4 งาน เมื่อผู้บริหารโรงเรียนสามารถนำสารสนเทศดังกล่าวมาพิจารณาวิเคราะห์ใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆได้ ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
1. ช่วยในการวางแผน โรงเรียนจำเป็นต้องมีการวางแผนงานด้านต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้า จึงต้องอาศัยสารสนเทศเรื่องต่าง ๆ ประกอบในการวางแผน เพื่อมิให้เกิดความผิดพลาดได้
2. ช่วยในการตัดสินใจ การตัดสินใจเป็นเรื่องที่ผู้บริหารจะต้องกระทำอยู่ตลอดเวลา สารสนเทศที่มีความพร้อมจะเรียกใช้ได้ตลอดเวลา จะช่วยให้การตัดสินใจของผู้บริหารถูกต้องและรวดเร็ว
3. ช่วยในการปรับปรุงหน่วยงาน เช่น โรงเรียนจะทำการขยายห้องเรียนเพิ่ม จำเป็นต้องใช้สารสนเทศเกี่ยวกับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงเท่าใด ค่าใช้สอยในการก่อสร้าง สถานที่ที่จะเพิ่มห้องเรียนอยู่ในส่วนใด เป็นต้น
4. ช่วยในการควบคุมปฏิบัติงาน สารสนเทศจะเป็นตัวชี้บอกว่างานนั้นๆ เป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือได้มาตรฐานที่กำหนดไว้หรือไม่ สารสนเทศจะช่วยในการพิจารณาวิธีการกำหนดบุคลากรเข้าสู่ตำแหน่งว่ามีความเหมาะสมเพียงใด หรือใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาการปรับขั้นเงินเดือน
5. ช่วยในการประชาสัมพันธ์โรงเรียนให้เป็นที่รู้จักของชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น แสดงประมาณนักเรียนที่เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือจำนวนนักเรียนที่ทำคะแนนได้ดีที่สุด เป็นต้น และยังสามารถให้บริการข้อมูลทั้ง 4 ด้านแก่หน่วยงานที่สนใจ
การจัดวางระบบสารสนเทศในโรงเรียนเพื่อให้สามารถนำสารสนเทศมาใช้ในการจัดการโรงเรียนตามขอบเขตของงานที่ต้องรับผิดชอบทั้ง 4 งาน อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ก่อนอื่นต้องคำนึงถึงผลผลิตหรือตัวสารสนเทศที่ต้องการเพื่อเป็นแนวทางนำไปสู่การจัดเก็บรวบรวมข้อมูล การกำหนด
การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ หมายถึง การรวบรวมคน เครื่องคอมพิวเตอร์ ความคิด และกิจกรรมต่างๆ เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ออกเป็นสารสนเทศที่ต้องใช้ในองค์กรทุกระดับของการจัดการภายในองค์กร
สารสนเทศที่จำเป็นและอยู่ในขอบเขตที่ต้องการ จะช่วยทำให้ลดปริมาณ เวลา และค่าใช้จ่าย ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เก็บรวบรวมโดยผ่านการวิเคราะห์ความต้องการ และความจำเป็นในการใช้จะถูกนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ากับการลงทุน
ผู้บริหารโรงเรียนเป็นบุคคลที่สำคัญที่มีบทบาทมีหน้าที่และมีความรับผิดชอบต่อการจัดการสารสนเทศ และการนำสารสนเทศมาใช้ในการจัดการโรงเรียน ตามลักษณะงานทั้ง 4 ด้าน ซึ่งจีราภรณ์ รักษาแก้ว (อ้างอิงใน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2540 :120) ได้ระบุหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารต่อสารสนเทศไว้ว่า ผู้บริหาร มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการวางแนวทางการพัฒนา เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการ ความคุ้มค่าของสารสนเทศและความประหยัดในการผลิตหรือจัดการสารสนเทศ...
แนวทางในการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศเพื่อการบริหาร
ผู้บริหารโรงเรียน มีหน้าที่อำนวยการและควบคุม ดูแลการใช้ทรัพยากรที่อยู่ในโรงเรียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นการประหยัดทรัพยากรด้วยจึงได้จัดแนวทางปฏิบัติในการจัดการระบบสารสนเทศในโรงเรียนดังนี้
ระบบข้อมูล
1. ผู้รับผิดชอบและประสานงานวิเคราะห์ความต้องการข้อมูลโดยดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1.1 จำแนกรายการประเภทข้อมูลให้ครอบคลุมการดำเนินงานของโรงเรียนทุก
ท่าน ทั้ง ด้านวิชาการ ธุรการ บุคลากร การบริหารงานทั่วไป
1.2 ปรับปรุงแบบเก็บข้อมูลให้กะทัดรัด ชัดเจน เข้าใจง่าย สะดวกต่อการใช้ง่าย
ต่อการ เก็บรักษา และลดความซ้ำซ้อนของงานโดยไม่จำเป็น สร้างเครื่องมือเก็บให้สอดคล้อง กับลักษณะของข้อมูลและแหล่งข้อมูล เช่น แบบสำรวจ แบบรายงาน หรือ แบบสอบถาม เป็นต้น
1.3 กำหนดระบบการรวบรวม การเก็บรักษา การทำข้อมูลให้เป็นปัจจุบันรวมทั้ง
การ นำเสนอและการใช้ข้อมูล
1.4 นำผลที่ได้จาก ข้อ 1.1 - 1.3 ไปชี้แจงตกลงร่วมกันกับ ครูทั้งโรงเรียน เพื่อให้เกิด
ความ เข้าใจและยอมรับร่วมกัน
2. จัดระบบสารสนเทศตามที่ได้ตกลงกันไว้
3. ทดลองใช้ระบบสารสนเทศระยะหนึ่งแล้วปรับปรุงให้เหมาะสมได้ประโยชน์และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
4. แต่ละงาน ฝ่าย และผู้บริหารระบุรายการข้อมูลที่ใช้ปฏิบัติงาน และให้บริการตามลำดับความจำเป็นก่อนและหลัง อาจรวบรวมในเวลาที่ต่างกัน แล้วแต่ความสะดวกรวดเร็ว และทันต่อการนำไปใช้ เช่น อาจเก็บข้อมูลเป็นวัน สัปดาห์ เดือน ภาคการศึกษา ปีการศึกษา หรือปีงบประมาณเป็นต้น และให้สอดคล้องกับกำหนดวันจัดเก็บข้อมูลของสำนักการศึกษา
5. ประสานงานกับผู้พัฒนาโปรแกรมให้มีชุดคำสั่งในการสำรองข้อมูลอัตโนมัติ (Back up Data) เพื่อป้องกันข้อมูลสูญหาย
6. จัดทำเอกสาร คู่มือ การใช้งานของโปรแกรมต่างๆ สำหรับให้ศึกษาเพิ่มเติม ได้ตลอดเวลา
7. มีการตรวจสอบข้อมูล คือ มีความเป็นปัจจุบัน ข้อมูลที่เกิดทันต่อการใช้งาน มีความเที่ยงตรง ตามเนื้อหาของสาระสนเทศที่ต้องการ
บุคลากร
1. ให้ความรู้และเหตุผลที่จำเป็นต้องปรับปรุงระบบสารสนเทศของโรงเรียนแก่บุคลากรในโรงเรียน
2. ให้การฝึกอบรมและพัฒนาครูให้มีความรู้ ความสามารถในการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ได้ เรียนรู้วิธีการใช้โปรแกรมต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานของตนเอง เพื่อกระจายงาน และมีข้อมูลทันต่อการใช้งาน
3. ผู้รับผิดชอบและประสานงานปรับปรุงระบบสารสนเทศจัดให้อยู่ในรูปคณะกรรมการโดยคัดเลือกจากบุคคลที่เหมาะสม และมีจำนวนมากพอกับปริมาณงานที่ต้องรับผิดชอบ
ด้านทรัพยากรของระบบ
1. จัดให้มีศูนย์สารสนเทศระดับโรงเรียน มีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย และการสื่อสารข้อมูลสารสนเทศแบบเชื่อมตรงกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก โดยใช้ระดับ Intranet
2. ประสานงานกับผู้ดูแล Website ให้ปรับปรุงการทำงานของโปรแกรม เพื่อให้ผู้กรอกข้อมูลสามารถกรอกข้อมูลแบบ Offline ได้
3. จัดหาอุปกรณ์เสริมให้ครบถ้วนเพื่อความสะดวกในการใช้งาน และจัดหาวัสดุให้เพียงพอต่อการใช้งาน เช่น แผ่นซีดี แผ่นดิสก์ และอื่นๆ
งบประมาณ
โรงเรียนต้องจัดสรรงบประมาณสำหรับขยายระบบสารสนเทศและพัฒนานวัตกรรมให้มีสมรรถนะการทำงานที่สูงขึ้น โดยขอจัดสรรงบประมาณจากหน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ของบแปรญัตติจากสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร มีแผนการใช้งบประมาณที่รองรับการขยายระบบสารสนเทศและพัฒนานวัตกรรม
วิสัยทัศน์
โรงเรียนสุมณฑาศึกษาจะมุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายจิตใจและมีคุณธรรม อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ใช่สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มีคุณภาพ จัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พัฒนาระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพส่งผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน
ยุทธศาสตร์การบริหารและการจัดการ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาองค์กรให้พร้อมบริการ
มาตรการที่ 1 จัดและพัฒนาโรงเรียนให้ทันสมัยและพร้อมบริการ เป็นการภูมิทัศน์ จัดระบบการทำงานให้เหมาะสม มีอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการงานอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมบริหารได้อย่างรวดเร็ว
มาตรการที่ 2 ส่งเสริมการพัฒนาระบบบริหารจัดการภายในสถานศึกษา
มาตรการที่ 3 ส่งเสริมให้องค์กรภาครัฐ เอกชน ชุมชนและท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคนสู่งาน
มาตรการที่ 1 พัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
มาตรการที่ 2 พัฒนางานในหน้าที่รับผิดชอบ
มาตรการที่ 3 จัดทำแฟ้มสะสมงาน
มาตรการที่ 4 พัฒนาผลงานวิชาการสู่ความก้าวหน้าในวิชาชีพ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอน
มาตรการที่ 1 พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนมีการจัดทำและพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับสภาพของสถานศึกษาสอดคล้องกับความสนใจและความต้องการของผู้เรียน ชุมชนและท้องถิ่น
มาตรการที่ 2 จัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับผู้เรียนเป็นหลัก เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเอง เต็มศักยภาพ
มาตรการที่ 3 จัดการเรียนรู้โดยบูรณาการ เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงศาสตร์หรือเนื้อหาสาขาวิชาต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดความรู้ที่มีความหมาย ความหลากหลาย และผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
มาตรการที่ 4 สอนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในเรื่องต่าง ๆ โดยครูสอนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม เพื่อปลูกฝังผู้เรียนให้เกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ทั้งในด้านพฤติกรรมที่แสดงออกและความรู้สึกนึกคิดที่ดี เช่น
มีความซื่อสัตย์ ขยัน อดทน ประหยัด มีวินัย และมีความรับผิดชอบ เป็นต้น
มาตรการที่ 5 จัดการเรียนรู้โดยโครงงาน เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้หรือค้นคว้าหาคำตอบในสิ่งที่ผู้เรียนอยากรู้หรือสงสัยอย่างมีลำดับขั้นตอน
ด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่หลากหลาย
มาตรการที่ 6 จัดแหล่งการเรียนรู้ เป็นกระบวนการจัดหารและใช้แหล่งการเรียนรู้ที่
หลากหลายซึ่งเป็นทั้งแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นบุคลากรและสถานที่รวมถึงสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรการที่ 7 ประเมินผลตามสภาพจริง เป็นการประเมินผลกระบวนการทำงานในด้านสมอง หรือความคิดและจิตใจของผู้เรียนอย่างตรงไปตรงมา ตามที่ผู้เรียนกระทำ โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การบันทึก และการรวบรวมข้อมูลจากผลงานหรือกิจกรรมของนักเรียน การจัดทำแฟ้มสะสมงาน เพื่อปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
มาตรการที่ 8 จัดกิจกรรมค่ายวิชาการ เป็นการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง ทั้งในและนอกห้องเรียน รวมทั้งฝึกการทำงานเป็นทีม ฝึกระเบียบวินัยในการอยู่ร่วมกัน เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
มาตรการที่ 9 วิจัยในชั้นเรียน เป็นการวิจัยที่ทำโดยครูผู้สอน เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียนและนำผลมาใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาสู่ระบบมาตรฐานการศึกษา
มาตรการที่ 1 จัดระบบข้อมูลสารสนเทศ โรงเรียนจัดทำข้อมูลและสารสนเทศอย่างเป็นระบบ มีรายละเอียดขั้นตอนตามสภาพและความต้องการของแต่ละหน่วยงาน มีการเกี่ยวข้อมูล ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล จนได้สารสนเทศ มีการนำไปใช้ประกอยการตัดสินใจปรับปรุงข้อมูลและพัฒนาระบบสารสนเทศให้ถูกต้องอย่างเป็นปัจจุบันและเหมาะสมอยู่เสมอ
มาตรการที่ 2 จัดทำแผนกลยุทธ์/ธรรมนูญโรงเรียน โรงเรียนจัดทำแผนกลยุทธ์/ธรรมนูญโรงเรียน โดยมีการตกลงร่วมกันระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง ชุมชนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีองค์ประกอบของแผนกลยุทธ์ ธรรมนูญโรงเรียนอย่างครบถ้วน มีการนำแผนการปฏิบัติรวมทั้งจัดให้มีการควบคุม กำกับ ติดตาม ประเมินและรายงานผล
มาตรการที่ 3 จัดทำแผนปฏิบัติการ โรงเรียนมีแผนปฎิบัติการที่สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ นโยบาย วิสัยทัศน์ และปณิธานของหน่วยงาน มาตรการที่ 4 ประเมินมาตรฐานบุคลากร ข้าราชการครูได้รับการประเมินตามมาตรฐานที่กำหนดเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นมืออาชีพ
มาตรการที่ 5 จัดระบบประกันคุณภาพ โรงเรียนได้รับการประเมินโดยบุคลากรภายในและภายนอกตามหลักเกณฑ์ วิธีการและมาตรฐานที่กำหนด
ผู้ให้ข้อมูล นางสาวนิตยา วงศ์สวัสดิ์
หน่วยงาน โรงเรียนสุมณฑาศึกษา
สถานที่ตั้ง 765 ถนนสุมณฑา หมู่ที่ 2
ตำบลท่ายาง อำเภอทุ่งใหญ่
จังหวัดนครศรีธรรมราช
.....................................................................................................
ชื่อเรื่อง การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศเพื่อการบริหารงานในโรงเรียนสุมณฑา ศึกษา
โรงเรียนเป็นสถานที่ที่ให้บริการการศึกษานักเรียน การดำเนินงานใดๆ โรงเรียน จำเป็นต้องมีกลุ่มบุคคลมาบริหารงาน เพื่อให้การจัดการเป็นไปตามวัตถุประสงค์
การจัดการ หมายถึง กระบวนการกิจกรรมหรือการศึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในอันที่จะเชื่อมั่นได้ว่า กิจกรรมต่างๆ ดำเนินไปในแนวทางที่จะบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าที่ในอันที่จะสร้างและรักษาไว้ซึ่งสภาวะที่จะเอื้ออำนวยต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ด้วยความพยายามของกุล่มบุคคล (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2540 : 110)
สารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียน หมายถึง กลุ่มข้อมูลหรือสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับภาระงานของโรงเรียนทั้ง 4 งาน ได้แก่ งานวิชาการ การบริหารบุคคล งานบริหารการเงิน และงานบริหารทั่วไปสารสนเทศจะมีบทบาทสำคัญต่อผู้บริหารโรงเรียนในการจัดการโรงเรียน ให้มีประสิทธิภาพทั้ง 4 งาน เมื่อผู้บริหารโรงเรียนสามารถนำสารสนเทศดังกล่าวมาพิจารณาวิเคราะห์ใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆได้ ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
1. ช่วยในการวางแผน โรงเรียนจำเป็นต้องมีการวางแผนงานด้านต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้า จึงต้องอาศัยสารสนเทศเรื่องต่าง ๆ ประกอบในการวางแผน เพื่อมิให้เกิดความผิดพลาดได้
2. ช่วยในการตัดสินใจ การตัดสินใจเป็นเรื่องที่ผู้บริหารจะต้องกระทำอยู่ตลอดเวลา สารสนเทศที่มีความพร้อมจะเรียกใช้ได้ตลอดเวลา จะช่วยให้การตัดสินใจของผู้บริหารถูกต้องและรวดเร็ว
3. ช่วยในการปรับปรุงหน่วยงาน เช่น โรงเรียนจะทำการขยายห้องเรียนเพิ่ม จำเป็นต้องใช้สารสนเทศเกี่ยวกับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงเท่าใด ค่าใช้สอยในการก่อสร้าง สถานที่ที่จะเพิ่มห้องเรียนอยู่ในส่วนใด เป็นต้น
4. ช่วยในการควบคุมปฏิบัติงาน สารสนเทศจะเป็นตัวชี้บอกว่างานนั้นๆ เป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือได้มาตรฐานที่กำหนดไว้หรือไม่ สารสนเทศจะช่วยในการพิจารณาวิธีการกำหนดบุคลากรเข้าสู่ตำแหน่งว่ามีความเหมาะสมเพียงใด หรือใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาการปรับขั้นเงินเดือน
5. ช่วยในการประชาสัมพันธ์โรงเรียนให้เป็นที่รู้จักของชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น แสดงประมาณนักเรียนที่เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือจำนวนนักเรียนที่ทำคะแนนได้ดีที่สุด เป็นต้น และยังสามารถให้บริการข้อมูลทั้ง 4 ด้านแก่หน่วยงานที่สนใจ
การจัดวางระบบสารสนเทศในโรงเรียนเพื่อให้สามารถนำสารสนเทศมาใช้ในการจัดการโรงเรียนตามขอบเขตของงานที่ต้องรับผิดชอบทั้ง 4 งาน อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ก่อนอื่นต้องคำนึงถึงผลผลิตหรือตัวสารสนเทศที่ต้องการเพื่อเป็นแนวทางนำไปสู่การจัดเก็บรวบรวมข้อมูล การกำหนด
การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ หมายถึง การรวบรวมคน เครื่องคอมพิวเตอร์ ความคิด และกิจกรรมต่างๆ เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ออกเป็นสารสนเทศที่ต้องใช้ในองค์กรทุกระดับของการจัดการภายในองค์กร
สารสนเทศที่จำเป็นและอยู่ในขอบเขตที่ต้องการ จะช่วยทำให้ลดปริมาณ เวลา และค่าใช้จ่าย ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เก็บรวบรวมโดยผ่านการวิเคราะห์ความต้องการ และความจำเป็นในการใช้จะถูกนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ากับการลงทุน
ผู้บริหารโรงเรียนเป็นบุคคลที่สำคัญที่มีบทบาทมีหน้าที่และมีความรับผิดชอบต่อการจัดการสารสนเทศ และการนำสารสนเทศมาใช้ในการจัดการโรงเรียน ตามลักษณะงานทั้ง 4 ด้าน ซึ่งจีราภรณ์ รักษาแก้ว (อ้างอิงใน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2540 :120) ได้ระบุหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารต่อสารสนเทศไว้ว่า ผู้บริหาร มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการวางแนวทางการพัฒนา เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการ ความคุ้มค่าของสารสนเทศและความประหยัดในการผลิตหรือจัดการสารสนเทศ...
แนวทางในการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศเพื่อการบริหาร
ผู้บริหารโรงเรียน มีหน้าที่อำนวยการและควบคุม ดูแลการใช้ทรัพยากรที่อยู่ในโรงเรียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นการประหยัดทรัพยากรด้วยจึงได้จัดแนวทางปฏิบัติในการจัดการระบบสารสนเทศในโรงเรียนดังนี้
ระบบข้อมูล
1. ผู้รับผิดชอบและประสานงานวิเคราะห์ความต้องการข้อมูลโดยดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1.1 จำแนกรายการประเภทข้อมูลให้ครอบคลุมการดำเนินงานของโรงเรียนทุก
ท่าน ทั้ง ด้านวิชาการ ธุรการ บุคลากร การบริหารงานทั่วไป
1.2 ปรับปรุงแบบเก็บข้อมูลให้กะทัดรัด ชัดเจน เข้าใจง่าย สะดวกต่อการใช้ง่าย
ต่อการ เก็บรักษา และลดความซ้ำซ้อนของงานโดยไม่จำเป็น สร้างเครื่องมือเก็บให้สอดคล้อง กับลักษณะของข้อมูลและแหล่งข้อมูล เช่น แบบสำรวจ แบบรายงาน หรือ แบบสอบถาม เป็นต้น
1.3 กำหนดระบบการรวบรวม การเก็บรักษา การทำข้อมูลให้เป็นปัจจุบันรวมทั้ง
การ นำเสนอและการใช้ข้อมูล
1.4 นำผลที่ได้จาก ข้อ 1.1 - 1.3 ไปชี้แจงตกลงร่วมกันกับ ครูทั้งโรงเรียน เพื่อให้เกิด
ความ เข้าใจและยอมรับร่วมกัน
2. จัดระบบสารสนเทศตามที่ได้ตกลงกันไว้
3. ทดลองใช้ระบบสารสนเทศระยะหนึ่งแล้วปรับปรุงให้เหมาะสมได้ประโยชน์และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
4. แต่ละงาน ฝ่าย และผู้บริหารระบุรายการข้อมูลที่ใช้ปฏิบัติงาน และให้บริการตามลำดับความจำเป็นก่อนและหลัง อาจรวบรวมในเวลาที่ต่างกัน แล้วแต่ความสะดวกรวดเร็ว และทันต่อการนำไปใช้ เช่น อาจเก็บข้อมูลเป็นวัน สัปดาห์ เดือน ภาคการศึกษา ปีการศึกษา หรือปีงบประมาณเป็นต้น และให้สอดคล้องกับกำหนดวันจัดเก็บข้อมูลของสำนักการศึกษา
5. ประสานงานกับผู้พัฒนาโปรแกรมให้มีชุดคำสั่งในการสำรองข้อมูลอัตโนมัติ (Back up Data) เพื่อป้องกันข้อมูลสูญหาย
6. จัดทำเอกสาร คู่มือ การใช้งานของโปรแกรมต่างๆ สำหรับให้ศึกษาเพิ่มเติม ได้ตลอดเวลา
7. มีการตรวจสอบข้อมูล คือ มีความเป็นปัจจุบัน ข้อมูลที่เกิดทันต่อการใช้งาน มีความเที่ยงตรง ตามเนื้อหาของสาระสนเทศที่ต้องการ
บุคลากร
1. ให้ความรู้และเหตุผลที่จำเป็นต้องปรับปรุงระบบสารสนเทศของโรงเรียนแก่บุคลากรในโรงเรียน
2. ให้การฝึกอบรมและพัฒนาครูให้มีความรู้ ความสามารถในการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ได้ เรียนรู้วิธีการใช้โปรแกรมต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานของตนเอง เพื่อกระจายงาน และมีข้อมูลทันต่อการใช้งาน
3. ผู้รับผิดชอบและประสานงานปรับปรุงระบบสารสนเทศจัดให้อยู่ในรูปคณะกรรมการโดยคัดเลือกจากบุคคลที่เหมาะสม และมีจำนวนมากพอกับปริมาณงานที่ต้องรับผิดชอบ
ด้านทรัพยากรของระบบ
1. จัดให้มีศูนย์สารสนเทศระดับโรงเรียน มีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย และการสื่อสารข้อมูลสารสนเทศแบบเชื่อมตรงกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก โดยใช้ระดับ Intranet
2. ประสานงานกับผู้ดูแล Website ให้ปรับปรุงการทำงานของโปรแกรม เพื่อให้ผู้กรอกข้อมูลสามารถกรอกข้อมูลแบบ Offline ได้
3. จัดหาอุปกรณ์เสริมให้ครบถ้วนเพื่อความสะดวกในการใช้งาน และจัดหาวัสดุให้เพียงพอต่อการใช้งาน เช่น แผ่นซีดี แผ่นดิสก์ และอื่นๆ
งบประมาณ
โรงเรียนต้องจัดสรรงบประมาณสำหรับขยายระบบสารสนเทศและพัฒนานวัตกรรมให้มีสมรรถนะการทำงานที่สูงขึ้น โดยขอจัดสรรงบประมาณจากหน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ของบแปรญัตติจากสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร มีแผนการใช้งบประมาณที่รองรับการขยายระบบสารสนเทศและพัฒนานวัตกรรม
วิสัยทัศน์
โรงเรียนสุมณฑาศึกษาจะมุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายจิตใจและมีคุณธรรม อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ใช่สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มีคุณภาพ จัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พัฒนาระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพส่งผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน
ยุทธศาสตร์การบริหารและการจัดการ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาองค์กรให้พร้อมบริการ
มาตรการที่ 1 จัดและพัฒนาโรงเรียนให้ทันสมัยและพร้อมบริการ เป็นการภูมิทัศน์ จัดระบบการทำงานให้เหมาะสม มีอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการงานอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมบริหารได้อย่างรวดเร็ว
มาตรการที่ 2 ส่งเสริมการพัฒนาระบบบริหารจัดการภายในสถานศึกษา
มาตรการที่ 3 ส่งเสริมให้องค์กรภาครัฐ เอกชน ชุมชนและท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคนสู่งาน
มาตรการที่ 1 พัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
มาตรการที่ 2 พัฒนางานในหน้าที่รับผิดชอบ
มาตรการที่ 3 จัดทำแฟ้มสะสมงาน
มาตรการที่ 4 พัฒนาผลงานวิชาการสู่ความก้าวหน้าในวิชาชีพ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอน
มาตรการที่ 1 พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนมีการจัดทำและพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับสภาพของสถานศึกษาสอดคล้องกับความสนใจและความต้องการของผู้เรียน ชุมชนและท้องถิ่น
มาตรการที่ 2 จัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับผู้เรียนเป็นหลัก เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเอง เต็มศักยภาพ
มาตรการที่ 3 จัดการเรียนรู้โดยบูรณาการ เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงศาสตร์หรือเนื้อหาสาขาวิชาต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดความรู้ที่มีความหมาย ความหลากหลาย และผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
มาตรการที่ 4 สอนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในเรื่องต่าง ๆ โดยครูสอนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม เพื่อปลูกฝังผู้เรียนให้เกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ทั้งในด้านพฤติกรรมที่แสดงออกและความรู้สึกนึกคิดที่ดี เช่น
มีความซื่อสัตย์ ขยัน อดทน ประหยัด มีวินัย และมีความรับผิดชอบ เป็นต้น
มาตรการที่ 5 จัดการเรียนรู้โดยโครงงาน เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้หรือค้นคว้าหาคำตอบในสิ่งที่ผู้เรียนอยากรู้หรือสงสัยอย่างมีลำดับขั้นตอน
ด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่หลากหลาย
มาตรการที่ 6 จัดแหล่งการเรียนรู้ เป็นกระบวนการจัดหารและใช้แหล่งการเรียนรู้ที่
หลากหลายซึ่งเป็นทั้งแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นบุคลากรและสถานที่รวมถึงสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรการที่ 7 ประเมินผลตามสภาพจริง เป็นการประเมินผลกระบวนการทำงานในด้านสมอง หรือความคิดและจิตใจของผู้เรียนอย่างตรงไปตรงมา ตามที่ผู้เรียนกระทำ โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การบันทึก และการรวบรวมข้อมูลจากผลงานหรือกิจกรรมของนักเรียน การจัดทำแฟ้มสะสมงาน เพื่อปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
มาตรการที่ 8 จัดกิจกรรมค่ายวิชาการ เป็นการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง ทั้งในและนอกห้องเรียน รวมทั้งฝึกการทำงานเป็นทีม ฝึกระเบียบวินัยในการอยู่ร่วมกัน เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
มาตรการที่ 9 วิจัยในชั้นเรียน เป็นการวิจัยที่ทำโดยครูผู้สอน เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียนและนำผลมาใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาสู่ระบบมาตรฐานการศึกษา
มาตรการที่ 1 จัดระบบข้อมูลสารสนเทศ โรงเรียนจัดทำข้อมูลและสารสนเทศอย่างเป็นระบบ มีรายละเอียดขั้นตอนตามสภาพและความต้องการของแต่ละหน่วยงาน มีการเกี่ยวข้อมูล ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล จนได้สารสนเทศ มีการนำไปใช้ประกอยการตัดสินใจปรับปรุงข้อมูลและพัฒนาระบบสารสนเทศให้ถูกต้องอย่างเป็นปัจจุบันและเหมาะสมอยู่เสมอ
มาตรการที่ 2 จัดทำแผนกลยุทธ์/ธรรมนูญโรงเรียน โรงเรียนจัดทำแผนกลยุทธ์/ธรรมนูญโรงเรียน โดยมีการตกลงร่วมกันระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง ชุมชนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีองค์ประกอบของแผนกลยุทธ์ ธรรมนูญโรงเรียนอย่างครบถ้วน มีการนำแผนการปฏิบัติรวมทั้งจัดให้มีการควบคุม กำกับ ติดตาม ประเมินและรายงานผล
มาตรการที่ 3 จัดทำแผนปฏิบัติการ โรงเรียนมีแผนปฎิบัติการที่สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ นโยบาย วิสัยทัศน์ และปณิธานของหน่วยงาน มาตรการที่ 4 ประเมินมาตรฐานบุคลากร ข้าราชการครูได้รับการประเมินตามมาตรฐานที่กำหนดเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นมืออาชีพ
มาตรการที่ 5 จัดระบบประกันคุณภาพ โรงเรียนได้รับการประเมินโดยบุคลากรภายในและภายนอกตามหลักเกณฑ์ วิธีการและมาตรฐานที่กำหนด
ผู้ให้ข้อมูล นางสาวนิตยา วงศ์สวัสดิ์
หน่วยงาน โรงเรียนสุมณฑาศึกษา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น